ความเชื่อไทยๆ แต่สมัยโบราณ มักเต็มไปด้วยความหมายที่เป็นมงคล แม้ในปัจจุบันคนไทยก็ยังเชื่อในความหมายและนิยมมีไว้ติดตัวเพื่อความเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเอง จึงพูดได้ว่า “ความเชื่อแบบไทย ทันสมัยทุกเวลา” เลนญ่าเองก็ได้นำแรงบันดาลใจเหล่านี้มาดีไซน์เป็นเครื่องประดับที่มีความทันสมัยแต่ยังคงความหมายที่น่ายึดถือไว้ วันนี้จึงขอโอกาสแนะนำความเชื่อไทย 2 แบบ แต่หลายสไตล์มาให้อ่านกันค่ะ

ปลาตะเพียน



อาจารย์จุลทัศน์   พยาฆรานนท์ ให้ความเห็นไว้ในบทความหนึ่งว่า “ปลาตะเพียนเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ ทำไมจึงกล่าวเช่นนั้น ปลาตะเพียนมักชุกชุมอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามที่ลุ่มมีน้ำขังตลอดปีในภาคกลางของประเทศไทย คนไทยภาคกลางรู้จักคุ้นเคยปลาตะเพียนมาตั้งแต่โบราณกาล ดังจะ เห็นได้จากภาพเขียนลายเส้นรูปปลาตะเพียนตกแต่งบนผิวชามดินเผาซึ่งทำขึ้นเป็นสินค้าขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหตุที่ปลาตะเพียนเป็นปลาที่จะกินได้อร่อยในฤดูข้าวตกรวงปลาตะเพียนจึงกลายเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ ดังคำชาวบ้านพูดกันติดปากมาแต่ก่อนว่า “ หน้า ข้าวหน้าปลา ” หรือ “ ข้าวใหม่ปลามัน ” คนไทยแต่ก่อนมีความเชื่อในปลาตะเพียนดังที่กล่าวนี้ จึงนิยมเอาใบลานมาสานขัดกันเป็นปลาตะเพียนจำลอง ตัวขนาดใหญ่บ้าง ขนาดเล็กบ้างแล้วจับผูกกันเข้าเป็นพวงเรียก ว่า เครื่องแขวนสำหรับแขวนไม้เหนือเปลนอนของเด็กอ่อน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสิ่งมงคลแก่เด็ก   จะได้เจริญเติบโตมีฐานะมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ดังปลาตะเพียนในฤดูข้าวตกรวง ความเชื่อเช่นนี้แม้ในเด็กที่โตพอจะวิ่งเล่นได้แล้ว   ผู้ใหญ่ก็ยังนิยมนำใบมะพร้าวมาสานเป็นปลาตะเพียนติดก้านกล้วยคันเบ็ดให้เด็กถือเล่นอีกด้วย คติเช่นนี้คล้ายกันกับชาว จีนทำโคมรูปปลาให้เด็กถือเล่นในวันไหว้พระจันทร์เพื่อเป็นมงคลแก่เด็ก ๆ ปลาตะเพียนสานด้วยใบลานแต่โบราณแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทด้วยกัน คือ ปลาตะเพียนสานสำเร็จแล้วเขียนลวดลายตกแต่งด้วยยางมะเดื่อปิดทองคำเปลวให้สวยงาม สำหรับใช้แขวนเหนือเปลของลูกผู้มีฐานันดรศักดิ์หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ เรียกว่า |ปลาตะเพียนทอง|   ส่วนอีกประเภทหนึ่งสานด้วยใบลานเปล่า   ไม่เขียนลวดลายแต่อย่างใด สำหรับใช้แขวนเหนือเปลลูกชาวบ้านทั่วไป นอกจากนั้นแล้ว ปลาตะเพียนยังได้ทำขึ้นเป็นเครื่องรางในทางเมตตามหานิยม   โดยเฉพาะเป็นมงคลในการค้าขายอย่างที่คุณตั้งข้อสังเกตมา โดยใช้แผ่นโลหะทอง   เงิน   ตัดเป็นรูปปลาตะเพียนทองตัวหนึ่ง   เงินตัวหนึ่ง   ลงอักขระเมตตามหานิยม   เจาะรูที่กระโดงหลังแล้วร้อยเชือกผูกกับไม้คานห้อยเป็นคู่ ๆ ใช้แขวนตามหน้าประทุนเรือค้า   หน้าร้านค้า   แผงลอย   แม้กระทั่งหาบเร่ เพื่อให้ค้าขายดี   คนพื้นบ้านที่ใช้ปลาตะเพียนเป็นเครื่องรางมักมีคาถากำกับด้วย   ตัวอย่างเช่น quote ปลาตะเพียน   ช่างเวียน   ช่างแวะ   ขายดิบขายดี   มั่งมีเยอะแยะ ” ด้วยเหตุนี้   ปลาตะเพียนสานจึงเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์และถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยมาแต่โบราณ…
(ที่มา http://guru.sanook.com/12677)

แต่ก็มีความเชื่อว่า ปลาตะเพียนเป็นสิ่งสิริมงคล ทำให้เงินทองไหลมาเทมา บ้างก็ว่า หากบ้านไหนแขวนปลาตะเพียนไว้หน้าบ้านจะทำให้บ้านนั้นมั่งมีศรีสุข ทำมาค้าขึ้น นอกจากนี้ ปลาตะเพียน ยังมีนัยยะ ที่บ่งบอกถึงเรื่องความขยันหมั่นเพียร อีกด้วยค่ะ

ช้าง

คุณวนิดา ทองธำรง ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร พระที่นั่งวสันตพิมาน ห้องจัดแสดงวัตถุจากช้าง โดยเฉพาะงาช้างแกะสลักศิลปะทั้งช่างจากชาวจีน พม่าและช่างไทย เล่าถึงความเชื่อเรื่องวัตถุช้างว่า

“งาช้างทั้งความเชื่อของคนไทยและประเทศอื่นๆถือเป็นวัตถุมงคล มีความเชื่อในเรื่องโชคลาภ เรื่องยศ เรื่องตำแหน่ง โดยปกติแล้วคนที่มีอำนาจมีวาสนาเท่านั้นที่จะได้ครอบครองงาช้าง”

และตัวของช้างเองนั้นยังเกี่ยวโยงกับคติความเชื่อทางศาสนาที่คนไทยให้ความเคารพนับถือ อย่างเช่น องค์ พระพิฒเนศวรหรือพระพิฒเนศ ที่มีหัวเป็นช้าง โดยมีความเชื่อว่าเป็นช่างและเทพแห่งศิลปะที่ประทานความสำเร็จให้แก่ผู้สักระบูชา

นอกจากนั้นช้างที่ด้วยเหตุของความเชื่อว่า ช้างเป็น สัญลักษณ์แห่งพลัง ความเฉลียวฉลาด และสัญลักษณ์ของอำนาจ ตั้งแต่อดีตจึงมักถูกถ่ายทอดลงงานศิลปกรรมในหลายแขนงๆ ทั้งภาพเขียน ปูนปั้น จิตรกรรม ตามฝาผนังในพระอุโบสถ และพระวิหารในวัดโบราณหลายแห่ง จนถึงการนำเอาช้างมาเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นรูปช้างเผือกพระยาเศวตไอยรา ยืนแท่นอยู่ในเรือนแก้ว ตราประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นรูปช้างในท้องน้ำ อันหมายถึงการสอนช้างในป่าร่องแม่น้ำ หรือบ้านแม่ร่องสอน ที่ต่อมาก็กลายเป็นชื่อจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตราประจำจังหวัดตาก เป็นภาพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับบนหลังพระคชธาร หรือตราประจำจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นภาพยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราช

จนกระทั่งในระดับชาติ ‘ธงช้าง’ ลักษณะเป็นรูปช้างเผือก ยืนหันหน้าให้เสาธง บนพื้นธงสีแดงเกลี้ยง ถูกใช้เป็นธงชาติสยาม ในปีพ.ศ.2398-2459 ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ธงไตรรงค์ อีกทั้งยังถือเอา ‘ช้างเผือก’ เป็นสัตว์ประจำชาติไทยด้วย

สัตว์ใหญ่เช่นช้างที่อยู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานได้รับการยกย่องจนถึงกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของชาติ

ช้างจึงถือเป็นมรดกของชาติ และเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติไทยอย่างแท้จริง
(ที่มา http://www.sarakadee.com/2014/11/26/elephant)

Lenya ก็ได้นำความเชื่อของไทยนี้ มาดีไซน์เป็นเครื่องประดับเพื่อเสริมสิริมงคล กับ Collection ปลาตะเพียน และ ช้าง สนใจคลิกชมได้ที่นี่ค่ะ
 

บทความดังกล่าวข้างต้นจัดทำโดยทีมงาน บริษัท เลนญ่า จิวเวลรี่ จำกัด ทางเราจึงขอสงวนสิทธิ์ การคัดลอกเนื้อหาทุกบทความของทางบริษัทฯ
กรณีต้องการนำข้อมูลไปใช้หรืออ้างอิง กรุณาติดต่อทีมงานค่ะผ่าน LINE: @LenyaJewelry ค่ะ